เยือนถิ่นหมอลำ สัมผัสวิถีชุมชน ที่บ้านปลาค้าว จังหวัดอำนาจเจริญ
![เยือนถิ่นหมอลำสัมผัสวิถีชุมชนที่บ้านปลาค้าว](../data/review_chumchon/l/630500000242.png)
ชุมชนบ้านปลาค้าว
วันนี้เราจะพาไปสัมผัสแดนอีสาน บอกเลยว่าเสน่ห์ของที่นี่ไม่ธรรมดา มีทั้งโบราณสถาน แหล่งวัฒนธรรม ที่เด็ดไปกว่านั้นคือ ชุมชนที่เราจะไปเป็นชุมชนที่มีคณะหมอลำที่มากที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย แค่ได้ยินแบบนี้เราก็ไม่รอช้าที่จะมาสัมผัสวิถีชีวิต มาม่วนกับความมันของเรื่องหมอลำ และศิลปะพื้นบ้านที่ไม่มีใครเหมือน ที่นี่คือ ชนเผ่าภูไท “ชุมชนบ้านปลาค้าว” จังหวัดอำนาจเจริญ ที่นี่อยู่ห่างจากตัวเมืองอำนาจเจริญไม่ถึง 10 กิโล ซึ่งจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหลายส่วน หนึ่งในนั้น คือ ธกส. ร่วมสนับสนุนเกี่ยวกับด้านเงินลงทุน และส่งเสริมด้านการจัดการชุมชน รวมไปถึงการถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนในชุมชน เพื่อสร้างความยั่งยืนในการอนุรักษ์เอกลักษณ์พื้นถิ่นคู่ชุมชน นี่แหละนะที่เขาเรียกว่าเป็นมากกว่าธนาคาร
![เยือนถิ่นหมอลำสัมผัสวิถีชุมชนที่บ้านปลาค้าว](../data/review_chumchon/l/630500000242.png)
ชุมชนบ้านปลาค้าว
การเดินทาง
เดินทางมาจากสนามบินอุบลราชธานี จะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 212 ซึ่งจะวิ่งตรงมาจนเข้าสู่อำเภอเมืองของจังหวัดอำนาจเจริญ จากนั้นมุ่งหน้าตรงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเห็นป้ายทางเข้าพุทธอุทยานที่ตั้งอยู่ทางซ้ายมือค่ะ จากพุทธอุทยานเลี้ยวขวาไปที่ถนนหมายเลข 212 ประมาณ 2 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 202 ขับตรงไปประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะพบกับสี่แยกให้เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนน 3018 และตรงไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะเข้าสู่หมู่บ้านปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ตูบปู่ตา และ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
![ตูบปู่ตา และ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์](../data/review_chumchon/l/630500000243.png)
ตูบปู่ตา
ก่อนอื่นที่เราจะเข้าหมู่บ้านไปสัมผัสวิถีชีวิต และแหล่งวัฒนธรรมอันเลื่องชื่อนั้น ขอมาไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นความเชื่อ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวชุมชนบ้านปลาค้าว นั่นคือ "ตูบปู่ตา" เป็นที่ที่ชาวบ้านปลาค้าว และหมู่บ้านใกล้เคียง เชื่อว่าคนในชุมชนจะทำอะไรต้องบอกกล่าวให้ทราบ เหมือนเราจะไปไหนทำอะไรเราก็ต้องบอกกล่าวผู้ใหญ่
เสร็จจากไหว้ตูบปู่ตาแล้ว เราจะพาไป "บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์" ซึ่งอยู่ในวัดฉิมพลี และที่วัดฉิมพลีแห่งนี้ยังมี "โปงไม้โบราณ" หรือระฆังไม้ ที่มีอายุประมาณ 150 – 200 ปี ที่เรียกได้ว่าหาชมกันได้อยาก แต่ยังใช้งานได้อยู่ แต่จะใช้งานก็ต่อเมื่อ มีเรื่องสำคัญหรือฉุกเฉิน ซึ่งเสียงที่ตีระฆังไม้จะดังกังวาลไปทั่วหมู่บ้านเผื่อเรียกชาวบ้านมาชุมนุมกันที่วัดแห่งนี้
![ตูบปู่ตา และ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์](../data/review_chumchon/l/630500000243.png)
ตูบปู่ตา
![ตูบปู่ตา และ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์](../data/review_chumchon/l/630500000244.png)
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
![ตูบปู่ตา และ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์](../data/review_chumchon/l/630500000245.png)
โปงไม้โบราณ
วัดศรีโพธิ์ชัย
![วัดศรีโพธิ์ชัย](../data/review_chumchon/l/630500000258.png)
วิหารเก่าแก่
อีกหนึ่งสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยวสายบุญไม่ควรพลาดคือ "วัดศรีโพธิ์ชัย" เพราะนอกจะมีโบราณสถานที่สำคัญแล้ววัดแห่งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนกับวัดที่มีความผูกพันธ์กันมาอย่างยาวนาน และยังมีวิหารที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่ศรีโพธิ์ชัย พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำนาจเจริญ
![วัดศรีโพธิ์ชัย](../data/review_chumchon/l/630500000258.png)
วิหารเก่าแก่
![วัดศรีโพธิ์ชัย](../data/review_chumchon/l/630500000259.png)
ภายในโบสถ์วัดศรีโพธิ์ชัย
วิหารญวณ
![วิหารญวณ](../data/review_chumchon/l/630500000254.png)
วิหารญวณ
และนี้ก็คือ "วิหารญวณ" โบราณสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่ในวัดศรีโพธิ์ชัย เป็นศิลปะผสมผสานของ 3 ชาติ ไทย ลาว เวียดนาม ร่วมกันสร้างวิหารแห่งนี้ ได้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2470 ด้านในยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่ศรีโพธิ์ชัย ที่มีอายุเก่าแก่ กว่า 200 ปี พระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของ จ.อำนาจเจริญ นอกจากจะมีพระพุทธรูปโบราณแล้ว ยังมีของโบราณอีกหลายชิ้น อย่าง "ตู้พระไตรปิฎกโฮงฮดแบบไม้โบราณ" ซึ่งในใบลานเทศภาษาขอมโบราณ และห่อด้วยผ้าไหมโบราณอยู่ เรียกได้ว่าที่แห่งนี้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอีกที่หนึ่งเลยทีเดียว
![วิหารญวณ](../data/review_chumchon/l/630500000254.png)
วิหารญวณ
![วิหารญวณ](../data/review_chumchon/l/630500000255.png)
ศิลปะผสมผสานของ 3 ชาติ
![วิหารญวณ](../data/review_chumchon/l/630500000256.png)
พระเจ้าใหญ่ศรีโพธิ์ชัย ที่มีอายุเก่าแก่ กว่า 200 ปี
![วิหารญวณ](../data/review_chumchon/l/630500000257.png)
ตู้พระไตรปิฎกโฮงฮดแบบไม้โบราณ
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช หรือ พิพิธภัณฑ์วัดศรีโพธิ์ชัย
![ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช หรือ พิพิธภัณฑ์วัดศรีโพธิ์ชัย](../data/review_chumchon/l/630500000263.png)
พิพิธภัณฑ์วัดศรีโพธิ์ชัย
นอกจากวิหารจะเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ และสวยงามของชุมชนแล้วภายในวัดยังมี “ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช” พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เก็บรวบรวมของใช้โบราณ และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงโครงสร้างเก่าของวัด วิหารญวณที่เคยสร้างด้วยไม้ ซึ่งประตูไม้ก็ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วย
![ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช หรือ พิพิธภัณฑ์วัดศรีโพธิ์ชัย](../data/review_chumchon/l/630500000263.png)
พิพิธภัณฑ์วัดศรีโพธิ์ชัย
![ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช หรือ พิพิธภัณฑ์วัดศรีโพธิ์ชัย](../data/review_chumchon/l/630500000264.png)
วัตถุโบราณจากการบูรณะวิหารญวณ
![ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช หรือ พิพิธภัณฑ์วัดศรีโพธิ์ชัย](../data/review_chumchon/l/630500000265.png)
ของใช้โบราณ
การอนุรักษ์ศิลปะหมอลำ
![การอนุรักษ์ศิลปะหมอลำ](../data/review_chumchon/l/630500000252.png)
การแสดงหมอรำ
จากที่กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชมชนแล้ว ก็ไม่รอช้า ที่จะไปดูไฮไลท์เด็ดของชุมชนแห่งนี้ นั้นก็คือ "หมอลำ" ซึ่งที่นี่มีคณะหมอลำมากที่สุดในประเทศไทย ประมาณ 20 คณะ มีการอนุรักษ์ศิลปะหมอลำ และพัฒนาหลายรูปแบบนำไปแสดงในงานต่างๆ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วประเทศไทย ซึ่งใครที่ไปเยี่ยมชมหมู่บ้านแห่งนี้ต้องได้ชมการร้อง การรำ ไม่เช่นนั้นะถือว่ามาไม่ถึงนะจ๊ะ
![การอนุรักษ์ศิลปะหมอลำ](../data/review_chumchon/l/630500000252.png)
การแสดงหมอรำ
![การอนุรักษ์ศิลปะหมอลำ](../data/review_chumchon/l/630500000253.png)
ทั้งการร้อง และการรำครบเครื่องเลย
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
![ผลิตภัณฑ์ชุมชน](../data/review_chumchon/l/630500000248.png)
ผ้าทอสีสันสดใส
นอกจากที่นี่จะมีการอนุรักษ์ศิลปะหมอลำแล้ว ยังมีอีกผลิตภัณฑ์โดดเด่นมากของชุมชนก็คือ "กลุ่มทอผ้า" โดยมีลายดอกสะแบงที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพราะสะแบงเป็นไม้ยืนต้นที่มีอยู่มากในชุมชน ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่ตามไร่นาซึ่งลักษณะของผลจะคล้ายๆ กับลูกยาง ซึ่งเมื่อก่อนได้นำมาร้อยเป็นมาลัยประดับในงานบุญต่างๆ จนมาพัฒนาเป็นลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์เป็นลายที่น่ารักมากๆ ค่ะ ชายผ้าด้านล่างเป็นลายหมอแคนกับหมอลำ และมีดอกสะแบง เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นมีความละเอียดของลายผ้า และสีสันสดใส น่าจับจองเป็นเจ้าของกันเลยทีเดียว นอกจากศิลปะพื้นบ้าน และโบราณสถานแล้วนั้น ชุมชนแห่งนี้ ยังมีแหล่งสร้างรายได้ในครัวเรือนนั้น คือ "การทำธูป" ซึ่งได้ส่งจำหน่ายทั้งใน และต่างประเทศอีกด้วย
![ผลิตภัณฑ์ชุมชน](../data/review_chumchon/l/630500000248.png)
ผ้าทอสีสันสดใส
![ผลิตภัณฑ์ชุมชน](../data/review_chumchon/l/630500000249.png)
กลุ่มทอผ้า
![ผลิตภัณฑ์ชุมชน](../data/review_chumchon/l/630500000250.png)
การทำธูป
![ผลิตภัณฑ์ชุมชน](../data/review_chumchon/l/630500000251.png)
ธูปที่ตากแดดให้แห้งรอบรรจุ
บ้านพักโฮมสเตย์
![บ้านพักโฮมสเตย์](../data/review_chumchon/l/630500000246.png)
โฮมสเตย์บ้านปลาค้าว
นอกจากนี้ยังมีบ้านพักโฮมสเตย์ไว้คอยบริการต้อนรับนักท่องเที่ยวซึ่งบ้านพักส่วนใหญ่จะเป็นบ้านไม้แบบโบราณ ดูแล้วทั้งน่ารัก และน่านอนอีกด้วย โฮมสเตย์แบบบ้านๆ ที่มีไว้บริการนักทักเที่ยวที่มาเยื่อนกว่า 20 หลัง บอกเลยค่ะว่านอนสบาย
![บ้านพักโฮมสเตย์](../data/review_chumchon/l/630500000246.png)
โฮมสเตย์บ้านปลาค้าว
![บ้านพักโฮมสเตย์](../data/review_chumchon/l/630500000247.png)
ภายในห้องพัก
ดอกสะแบง
![ดอกสะแบง](../data/review_chumchon/l/630500000266.png)
ดอกสะแบง
เราขอมาดูของจริงกันซะหน่อย ว่าต้น และดอกสะแบง ที่เป็นเอกลักษณ์ของที่นี้เป็นแบบไหน พอได้มาเห็นแล้ว สวยสะดุดตามากๆ เลยค่ะ เพราะมีขึ้นเป็นจำนวนมากอยู่กลางทุ่งนา ดอกก็มีสีสันสดใส
![ดอกสะแบง](../data/review_chumchon/l/630500000266.png)
ดอกสะแบง
ความประทับใจ
การมาได้เที่ยวในชุมชนบ้านปลาค้าว ครั้งนี้สมแล้วที่ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านหมอลำ เพราะไม่ว่าจะไปทางไหน ไปทำอะไร เราก็มักจะได้ยินเสียงแคน เสียงกลอง และเสียงร้องกลอนหมอลำ เหมือนเป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตของคนที่นี่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุขที่แทรกซึมในตัวศิลปินทุกคน ความสุขที่สะท้อนออกมาให้เห็นถึงความภูมิใจ และพร้อมที่จะถ่ายทอดให้กับคนทั่วไปได้เห็นถึงเสน่ห์ และความสวยงามของวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เรียกว่า หมอลำ ชุมชนนี้มีครบรสชาติเหมือนกับคำที่ ได้กล่าวไว้ว่า "มัดหมี่ดอกสะแบง เบิ่งแยงหมอลำ เรียนรู้หัตถกรรม วัฒนธรรมบ้านปลาค้าว" มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ อย่างชัดเจน และนี้ก็เป็นเรื่องราวที่ได้มาสัมผัสกับวิถีชีวิตแบบบ้านๆ เสน่ห์อิสาน เรื่องราววิถีชีวิต กับชุมชนบ้านปลาค้าว จังหวัดอำนาจเจริญ
ติดต่อชุมชนบ้านปลาค้าว
ติดต่อชุมชน : บ้านปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
กลุ่มโฮมสเตย์บ้านปลาค้าว โทร. 081-878-7833
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง บ้านปลาค้าว โทร. 087-262-2796