ตกลง
เที่ยวแบบวิถี “ไทยเบิ้ง” บ้านโคกสลุง จังหวัดลพบุรี
เที่ยวแบบวิถี “ไทยเบิ้ง” บ้านโคกสลุง จังหวัดลพบุรี
ชุมชนบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง

ถ้าเราพูดถึงจังหวัดลพบุรี คนส่วนมากก็จะนึกถึง พระปรางค์สามยอด พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ทุ่งดอกทานตะวัน ลิง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และสถานที่เที่ยวอีกมากมาย แต่วันนี้ใครอยากไปที่ ที่แปลกใหม่ตามเรามาได้เลยจ้า เราจะพาเพื่อนๆ ไปสัมผัสชีวิตเรียบง่ายในชุมชนที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และยังคงวัฒนธรรมวิถีชีวิตแบบดั่งเดิม กันที่ “ชุนชนบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง” จังหวัดลพบุรี ตามมากันได้เลยจ้า...

เที่ยวแบบวิถี “ไทยเบิ้ง” บ้านโคกสลุง จังหวัดลพบุรี
ชุมชนบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง
การเดินทาง

เราเดินทางจาก อำเภอเมืองลพบุรี มุ่งหน้าไปกันที่ อำเภอพัฒนานิคม  เดินทางไปประมาณ 70 กิโลเมตร ให้สังเกตุป้าย ตำบลโคกสลุง ทางซ้ายมือ แล้วให้เลี้ยวซ้าย และขับตรงเข้าไปเจอวงเวียน ให้โค้งซ้ายไปตามทางแล้วตรงเข้าไปอีก สังเกตุป้าย ซอยสำราญ ทางขวามือ แล้วเลี้ยวขวา ขับตรงเข้าไป ก็จะเจอวัดโคกสำราญ เป็นสถานที่แรกของชุมชนบ้านไทเบิ้ง เลยจ้า

วัดโคกสำราญ
วัดโคกสำราญ
วัดโคกสำราญ

เราเริ่มต้นด้วยการมาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ เรียกได้ว่าเป็นวัดคู่ชุมชนมาช้านาน "วัดโคกสำราญ" เป็นโบราณสถาน และมีหลักฐานที่บ่งบอกร่องรอยทางโบราณคดีให้เห็นอยู่ ที่สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ถลุงแร่ของชาวบ้านในสมัยก่อน จนเรียกชื่อว่า หมู่บ้านโคกถลุง และเพี้ยนเป็น “หมู่บ้านโคกสลุง”

วัดโคกสำราญ
วัดโคกสำราญ
วัดโคกสำราญ
ไหว้พระขอพรกันหน่อย
วัดโคกสำราญ
บัวกลีบขนุนฐานโยนี
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง
ทางเข้าพิพิธภัณฑ์

มาต่อที่ "พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง" ที่นี้สร้างขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านทำขึ้นมา โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุน และความรู้ในระบบการท่องเที่ยวจาก ธ.ก.ส. สร้างให้เสมือนเป็นห้องเรียนสร้างภูมิปัญญา เพื่อยึดเหนียวของชาวบ้านที่ทำให้ได้ระลึกถึงวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ สร้างจากแรงบันดาลใจของชาวบ้านมีผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้ร่วมกันหาแนวทางในการฟื้นประเพณี และวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวไทยเบิ้งขึ้นมา และที่นี้ยังเป็นหมู่บ้านต้นแบบในชุมชนของจังหวัดลพบุรี

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง
ทางเข้าพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง
เรือนฝาค้อ
เรือนฝาค้อ
เรือนฝาค้อ

อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไทยเบิ้งจำลองที่นำใบของต้นค้อซึ่งมีลักษณะคล้ายทางมะพร้าวหรือปาล์มมาทำเป็นฝาเรือน โดยใช้ไม้ไผ่ประกบกับใบต้นค้อเรียกว่า "เรือนฝาค้อ"

ภายในเรือนจัดเป็นห้องต่าง ๆ จำลองบรรยากาศให้เหมือนกับการอยู่อาศัยจริง ใต้ถุนเรือนจัดแสดงเครื่องมือหาปลา เครื่องมือดักสัตว์ และหัตถกรรมจากไม้ไผ่

เรือนฝาค้อ
เรือนฝาค้อ
วิถีชุมชน เรียนรู้ภูมิปัญญา อาหารพื้นบ้าน
วิถีชุมชน เรียนรู้ภูมิปัญญา อาหารพื้นบ้าน
พริกตะเกลือ

ที่นี้มีกิจกรรมการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน มีฐานเรียนรู้ภูมิปัญญา อาหารพื้นบ้าน งานหัตถกรรม และการละเล่นพื้นบ้าน เราได้มีโอกาสทานอาหารของชาวไทยเบิ้งแท้ๆ ซึ่งมีให้ทานเฉพาะที่นี่เท่านั้น อาหารของชาวไทยเบิ้ง เป็นอาหารที่มีวัตถุดิบมาจากธรรมชาติ มีวิธีการปรุงที่ไม่ยุ่งยาก อย่างเช่น "พริกตะเกลือ" ประกอบไปด้วย พริก เกลือ กระเทียม ใบมะกรูด ลูกกำจัด ตำปนกันให้ละเอียด กินกับข้าว และกินกับผลไม้ รสชาติอร่อยเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังมี อาหารที่มี "เครื่องดำ" เป็นส่วนประกอบคือ ต้มกระดูกหมูใบมะขามอ่อนใส่เครื่องดำ ให้ความหอมเหมือนเครื่องเทศรวมไปถึงรสชาติที่กลมกล่อม

วิถีชุมชน เรียนรู้ภูมิปัญญา อาหารพื้นบ้าน
พริกตะเกลือ
วิถีชุมชน เรียนรู้ภูมิปัญญา อาหารพื้นบ้าน
เครื่องดำ
มนต์เสน่ห์ไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง
มนต์เสน่ห์ไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง
สัมผัสบรรยากาศรอบชุนชนด้วยรถอีแลนแตน

ไปสัมผัสบรรยากาศรอบชุนชนด้วยรถอีแลนแตน ที่ชาวบ้านชุมชนไทยเบิ้งบ้านโคกสลุงนิยมเรียกกัน คุณลุงพาเราเยี่ยมชมพื้นที่ชุมชน เพื่อเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทอผ้าด้วยกี่โบราณ การทอเสื่อการสานของเล่นจากใบลาน และการทำขนมเบื้องโบราณสไตล์ไทยเบิ้ง โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม "มนต์เสน่ห์ไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง"

มนต์เสน่ห์ไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง
สัมผัสบรรยากาศรอบชุนชนด้วยรถอีแลนแตน
การทอหูก หรือ การทอผ้าด้วยกี่โบราณ
การทอหูก หรือ การทอผ้าด้วยกี่โบราณ
การปั่นด้าย

ที่นี่ยังรักษาการทอผ้าทีเรียกว่า “การทอหูก” การทอผ้าด้วยกี่โบราณ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่บ่งบอกเอกลักษณ์ชาวบ้านโคกสลุง ซึ่งการทอผ้าไทยเบิ้งบ้านโคกสลุงมีเอกลักษณ์เด่นเฉพาะตัวไม่เหมือนของใคร เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่าง ผ้าทอ ผ้าขาวม้า ย่ามไทยเบิ้ง กระเป๋า มาถึงที่ทั้งที ก็พลาดไม่ได้ต้องลองดูกันสักหน่อย แต่เราว่าปล่อยให้ป้าทำต่อแหละดีแล้ว ดูแล้วเหมือนง่ายแต่ลงมือทำจริงๆ รายละเอียดเยอะมากเลยจ้า กว่าจะได้ผ้าแต่ละชิ้นก็ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ เลยจริงๆ

การทอหูก หรือ การทอผ้าด้วยกี่โบราณ
การปั่นด้าย
การทอหูก หรือ การทอผ้าด้วยกี่โบราณ
การขึ้นด้าย
ของเล่นพื้นบ้านจากใบตาล
ของเล่นพื้นบ้านจากใบตาล
ทำของเล่นพื้นบ้านจากใบตาล

ยังมีฐานการเรียนรู้การทำของเล่นพื้นบ้านจากใบตาล เช่น ตั๊กแตน (ตั๊กกะโต่ง) นก ปู ปลาตะเพียน กบ ยีราฟ เครื่องบิน เป็นต้น ลุงเก่งมาก อยากให้ลุงทำตัวอะไรลุงก็ทำได้เกือบหมดทุกอย่าง และเราก็ได้มาดูวิธีการทอเสื่อจากต้นกก สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นกันเลยทีเดียว

ของเล่นพื้นบ้านจากใบตาล
ทำของเล่นพื้นบ้านจากใบตาล
โฮมสเตย์ของชุมชน
โฮมสเตย์ของชุมชน
บรรยากาศเหมือนอยู่บ้านตัวเองเลย

ถ้าเราอยากสัมผัสวิถีชีวิตแบบครบรส ก็ต้องไม่พลาด การเข้าพักที่โฮมสเตย์ของชุมชน คิดราคาคนละ 400 บาท รวมอาหาร และห้องพักโปร่ง โล่ง สะอาด มีพื้นที่กว้างขวาง และการต้อนรับเป็นกันเองสุดๆ ถือว่าคุ้มมากๆ กับราคาแค่หลักร้อย

โฮมสเตย์ของชุมชน
บรรยากาศเหมือนอยู่บ้านตัวเองเลย
โฮมสเตย์ของชุมชน
ภายในห้องพัก
น้ำพริกตะเกลือ ผักต้ม ต้มกระดูกหมูใบมะขามอ่อน
น้ำพริกตะเกลือ ผักต้ม ต้มกระดูกหมูใบมะขามอ่อน
อาหารท้องถิ่นฟินสุดๆ

จากที่เราเยี่ยมชมพื้นที่ชุมชน เพื่อเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปหลายจุดแล้ว ก็ผ่านเวลามาถึงช่วงเวลาอาหารเย็นกันแล้ว ทางชุมชนก็ได้จัดเตรียมอาหารไว้ให้เรา ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านที่เป็นจุดเด่นของที่นี้ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ควรพลาด ในสำรับอาหารที่เราได้นี้ มีทั้ง น้ำพริกตะเกลือ ผักต้ม ต้มกระดูกหมูใบมะขามอ่อนใส่เครื่องดำ แต่ที่นี่เขาเพิ่มความเปรี้ยวด้วย น้ำมะกรูด ซึ่งมันมีกลิ่นที่หอม และเข้ากับต้มกระดูกหมูมากๆ อร่อยฟินเวอร์ ตบท้ายด้วยของหวานบวชชีกล้วย อิ่มสุดๆ

น้ำพริกตะเกลือ ผักต้ม ต้มกระดูกหมูใบมะขามอ่อน
อาหารท้องถิ่นฟินสุดๆ
น้ำพริกตะเกลือ ผักต้ม ต้มกระดูกหมูใบมะขามอ่อน
ต้มกระดูกหมูใบมะขามอ่อนใส่เครื่องดำ
ขนมเบื้องโบราณ และข้าวโปง
ขนมเบื้องโบราณ  และข้าวโปง
ขนมเบื้องโบราณ

จากที่เรากินอาหารเย็นกันเสร็จแล้ว ชุมชนก็ได้จัดกิจกรรมการทำขนมพื้นบ้าน "ขนมเบื้องโบราณ" แบบไม่มีใส้ และ "ข้าวโปง" ขนมโบราณที่ใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำแล้วเอาไปนึ่งให้สุก จากนั้นรอพักให้เย็นก็เอาไปตำกับครกไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นครกตำข้าวสมัยก่อน มีสากไม้ด้ามยาวเป็นการร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน เมื่อแป้งถูกตีถูกตำถูกนวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน ก็จะนำมาปั้น และใส่ไส้ ที่ทำจากถั่วลิสงคั่วบดละเอียดผสมกับงาดำคั่ว น้ำตาลปี๊บ หรือถ้านำเอาข้าวโปงไปปิ้ง ก็จะได้อีกรสชาติ หอม กรอบ

ขนมเบื้องโบราณ  และข้าวโปง
ขนมเบื้องโบราณ
ขนมเบื้องโบราณ  และข้าวโปง
ข้าวโปง
รถไฟลอยน้ำ
รถไฟลอยน้ำ
รถไฟลอยน้ำ

จากที่เราทานอาหารเย็นกันเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องไปเดินย่อยกันสักหน่อย นอกจากที่นี้จะมีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตแบบดั่งเดิม ยังมีวิวสวยๆ ที่เห็นแล้วผ่อนคลาย เงียบสงบ เราขอพาไปหาจุดถ่ายภาพเร้นลับกันบ้าง จริงๆ จะว่าลับก็ดูเว่อร์ไปหน่อย คือ เป็นพนังเขื่อนเชื่อมต่อกันจากเขื่อนป่าสักฯ นั้นเอง แต่ตรงจุดนี้เป็นจุดต่อเชื่อมออกมาแล้วอยู่ในบ้านโคกสลุงเนี่ยละ ถือว่าคนรู้จักกันน้อยมาก รถไฟที่นี้พิเศษจากที่อื่นนะจ๊ะ ชาวบ้านหรือนักท่องเที่ยว เรียกกันว่า "รถไฟลอยน้ำ" แต่ช่วงที่เราไปน้ำแห้งไปนิด แต่ก็ยังได้วิวที่สวยอยู่มากๆ เลยใช่ไหมละ

รถไฟลอยน้ำ
รถไฟลอยน้ำ
รถไฟลอยน้ำ
ผนังเขื่อนสวยมาก
ความประทับใจ
ความประทับใจ

การได้มาในชุมชนที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งสำเนียงการพูด การแต่งกาย และของใช้จำเป็น ซึ่งการดำเนินวิถีชีวิตแบบนี้หาได้ยากในยุคสมัยนี้ ถ้าใครอยากหาเวลาพักผ่อน และมีกิจกรรมดีๆ สามารถนำครอบครัว เพื่อนฝูง มาสัมผัสบรรยากาศพื้นบ้าน และสนุกแบบนี้ได้ ด้วยตัวเอง มาแล้วรับรองว่าไม่ผิดหวังจริงๆ

ความประทับใจ
ข้อมูลติอต่อชุมชน
ติดต่อชุมชน : บ้านไทยเบิ้งโคกสลุง จังหวัดลพบุรี

คุณพะยอม อ่อนสลุง โทรศัพท์ 087-7655780
คุณประทีป อ่อนสลุง โทรศัพท์ 084-9786782